วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

MV


Happy Vampires โหลดเพลงแกรมมี่แบบไม่ยั้ง แค่เดือนละ 20 บาท Click ที่นี่เลย

ใบงานที่ 14

Blog กับ Gotoknow
จุดเด่นของ blog
- เป็นเวปที่ไม่ต้องจ่ายตังค์ ใช้พื้นที่ฟรี
- ได้เจอเพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่เป็นที่พบปะพูดคุยกัน
- เป็นแหล่งข้อมูล ได้ศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยน
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
- เป็นเสมือนไดอารี่ในการถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัว
- เป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง
- ใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ประหยัดค่าใช้จ่ายและอัปเดทข้อมูลได้ตลอดเวลา
จุดด้อยของ blog
- เป็นการใช้เนื้อที่ฟรีในการทำเวป อาจถูกยกเลิกได้ตลอดเวลา
- มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม หรือเข้าข่ายผิดกฎหมาย
- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ บางครั้งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ความแตกต่างระหว่าง blogspot และ gotokhow
Gotoknow
- Gotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย แต่ blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น
- Gotokhow มีผู้คอยดูแลระบบกลาง คอยสร้างความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศและมิตรภาพที่งดงามให้แก่สมาชิก แต่ blogspot ไม่มีผู้คอยดูแลระบบ เจ้าของ blog เท่านั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการตรวจสอบและกลั่นกรอง
- Gotokhow มีการประเมินผลการเขียนบล็อก มีสถิติแสดงจำนวน มีการให้ “รางวัลสุดคะนึง” ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เขียนบล็อกประเภทต่างๆ ทำให้ผู้เขียนบล็อกเกิดกำลังใจ ซึ่งเป็นเหมือนพันธะสัญญาที่จะต้องพัฒนาการเขียนการคิดและการนำความรู้ไป ปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น แต่ blogspot ไม่มีในส่วนนี้
- Gotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก ซึ่งแตกต่างจาก blogspot ซึ่งผู้เขียนสามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย ทำให้สร้างแรงจูงใจในการทำ blog ได้มากกว่า gotokhow เช่น สามารถเปลี่ยนสกินได้มาก สามารถใส่คลิป เพลง ลูกเล่นต่างๆ ได้เย่อะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก ผู้เขียนเองก็สนุกกับการเขียน blog เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่

ใบงานที่ 12

การใช้โปรแกรม SPSS
1. ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรม
คลิก Start -> All Programs -> SPSS for Windows -> SPSS 11.5 for Windows
หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows
2. ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS
เมื่อเปิดโปรแกรมจะได้หน้าต่างที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
-Title Bar บอกชื่อไฟล์ เช่น Untitled-SPSS Data Editor (หากเปิดครั้งแรก)
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน ได้แก่ Variable View (สร้างและแก้ไขโครงสร้า้งตัวแปร) และ Data View (เพิ่มและแก้ไขตัวแปร)
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน
3. การป้อนข้อมูลจากหน้าจอData Editor
3.1 เปิด SPSS Data Editor โดยไปที่ File -> New -> Data
3.2 กำหนดชื่อและรายละเอียด จากหน้าจอ Variable View
3.3 ป้ิอนข้อมูล Data View
3.4 บันทึกข้อมูล File -> Save
4. การกำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรจากหน้าจอ Variable View

ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี คือ 1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก 2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View แล้วจะเจอ
4.1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex , Age, หรือจะพิมพ์เป็นภาษาไทยก็ได้ตามตัวแปรที่มีอยู่
4.2. Type ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric Width =1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
4.3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4.4 Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
4.5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ คือ User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …และ System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง
4.6 Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร
4.7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
4.8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล ได้แก่ Scale (Interval, Ratio), Ordinal, Nominal ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว
5.การป้อนข้อมูลในหน้าต่าง Data View
Data View เป็นแบบตาราง การป้อนข้อมูลจะคล้ายกับ Excel
- บรรทัดแรก จะเป็นชื่อตัวแปร
- บรรทัดต่อไป จะเป็นข้อมูล ดูจำนวนข้อมูล
- ไปรายการสุดท้าย กดปุ่ม Ctrl+End
- กลับไปรายการแรก กดปุ่ม Ctrl+Home
- การ Show Label (View -> Value Labels)
- เรียบร้อยแล้วเราก็ทำการ Save ข้อมูลโดยการกดคลิกที่ปุ่ม Save จะได้กรอบ Save data กำหนดสถานที่จัดเก็บข้อมูลในช่อง Save in และกำหนดชื่อ File ในช่อง File name File ที่ได้จะมีนามสกุลเป็น sav
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
6.1 คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
6.2 จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
6.3 เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไป อยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
6.4 คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
6.5 เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6.6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
6.7 เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

ใบงานที่ 11




อาจารย์เป็นคนใจดี มีความตั้งใจในการสอนมาก
พยายามหาเนื้อหาความรู้มาให้นักศึกษาเรียนรู้เท่าที่เวลาจะเอื้ออำนวย
ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆค่ะ